วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ก็าซ

ก๊าซ
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความดัน และปริมาตรของแก๊ส
- ปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิของแก๊ส มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
(แก๊สต่างๆ นั้นจะมีความสัมพันธ์ระหว่าง ปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิ อย่างใกล้ชิด โดยความสัมพันธ์จะแบ่งเป็นคู่ความสัมพันธ์ เมื่อให้ปริมาตรของแก๊สคงที่ตลอดการพิจารณา)
1) ปริมาตร- ความดัน ความสัมพันธ์นี้เสนอโดย รอเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle, 1662) กล่าวไว้ว่า “ เมื่ออุณหภูมิและจำนวนอนุภาคคงที่ ปริมาตรของแก๊สใดๆ จะแปรผกผันกับความดันของแก๊สนั้นๆ” ดังสมการ
 หรือ 
ดังนั้น PV = k
เมื่อ V คือ ปริมาตร
P คือ ความดัน
k คือ ค่าคงที่
2) อุณหภูมิ- ปริมาตร ความสัมพันธ์นี้ค้นพบโดย ชาร์ล (Jacques Charles, 1787) ที่กล่าวไว้ว่า “ เมื่อความดันและจำนวนอนุภาคคงที่ ปริมาตรของแก๊สใดๆ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิ เคลวิน” ดังสมการ
 หรือ V = kT
ดังนั้น 
เมื่อ V คือ ปริมาตร
P คือ ความดัน
k คือ ค่าคงที่
3) อุณหภูมิ- ความดัน ความสัมพันธ์นี้ค้นพบโดย เกย์ - ลุสแซก (Joseph-Louis Gay-Lussac, 1802) ที่กล่าวไว้ว่า “ เมื่อปริมาตร และจำนวนอนุภาคคงที่ ความดันของแก๊สใดๆ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน” ดังสมการ
 หรือ P = kT
ดังนั้น 
เมื่อ P คือ ความดัน
T คือ อุณหภูมิ
k คือ ค่าคงท
ี่
จากกฎทั้งสาม เมื่อนำมารวมกันจะนำไปสู่กฎรวมของแก๊ส นั่นคือ
ดังนั้น 
(การทำงานของลูกสูบ เริ่มจากการปล่อยให้ไอของเชื้อเพลิงไหลเข้าไปในกระบอกสูบ เมื่อกระบอกสูบอัดตัวเข้ามา หัวเทียนก็จะจุดระเบิดเชื้อเพลิงได้เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิสูง ดังนั้นปริมาตรของกระบอกสูบก็จะขยายออกอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงมีการระบายแก๊สออกไปยังท่อไอเสีย การทำงานที่สัมพันธ์กันนี้ เมื่อกระบอกสูบหดและขยายตัวสลับกันไป ก็จะทำให้ก้านสูบไปดันให้เกิดการหมุนของล้อและเพลาได้อย่างต่อเนื่อง)
สรุปทฤษฎีต่างๆ ของก๊าซ
  • กฎของบอยล์ ( Boyle ‘s Law) “ เมื่ออุณหภูมิและมวลคงที่ ปริมาตรของก๊าซใด ๆ จะแปรผกผันกับความดัน”

เมื่อ T และ คงที่
P 1V 1 = P 2V 2
  • กฎของชาร์ล ( Charle ‘s Law) “ เมื่อความดันและมวลของก๊าซคงที่ ปริมาตรของก๊าซจะแปรผันตรงกับคุณหภูมิเคลวิน”

เมื่อ P และ nคงที่
  • กฎของเกย์ลุสแสค ( Gay-Lussac ‘s Law) “ ความดันของก๊าซใดๆ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวินเมื่อปริมาตรและมวลของก๊าซคงที่”

เมื่อ V และ n คงที่
  • กฎของก๊าซ (Gas Law)
กฎของก๊าซ สมบัติของแก๊สที่ได้จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ทั้งสาม คือ บอยล์ ชาร์ล และเกย์-ลูสแซก นำมารวมกันเป็นกฎของแก๊ส จะได้กฎของแก๊ส คือ
(เมื่อปริมาณหรือจำนวนโมเลกุลของแก๊สคงที่)
และจะได้
จากความสัมพันธ์ ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า  เป็นค่าคงที่ ซึ่งค่าคงที่ตัวนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนโมเลกุลของแก๊สในภาชนะ (N) ทีใช้ทดลอง คือ ถ้าจำนวนโมเลกุลเปลี่ยนไปค่า ต้องเปลี่ยนไปด้วย เช่น การรั่วของแก๊สจากลูกโป่งทำให้ปริมาตรของลูกโป่งลดลง และความดันภายในลูกโป่งลดลงด้วย
ให้ N เป็นจำนวนโมเลกุลของแก๊สในภาชนะ
ดังนั้น 
หรือ
เมื่อ KB คือ ค่าคงตัวของโลต์ซมัน์ (Boltzmann’s constant ) มีค่าเท่ากับ 1.38x10 -23 จูลต่อเคลวิน
ให้ n เป็นจำนวนโมลของก๊าซในภาชนะ
เนื่องจาก n = มวลของก๊าซ (m) / มวลโมเลกุลของแก๊ส (M)
หรือ
เมื่อ N A คือ เลขอาโวกาโดร (Avogadro’s number) มีค่าเท่ากับ 6.02x10 23 โมเลกุลต่อโมล
จะได้
หรือ PV = nRT
ดังนั้นสูตรที่เกี่ยวข้องกับโมลของแก๊ส PV = nRT
เมื่อ R= N AK B มีค่าเท่ากับ 8.314 จูลต่อโมล-เคลวิน เรียกว่า ค่าคงตัวของแก๊ส